ภาวะอารมณ์เศร้า หรือโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในผู้สูงวัย ช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 แบบ คือ อาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20 % ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก จะมีความเสี่ยงกับภาวะนี้มากขึ้น
อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยตรงไปตรงมา มีตั้งแต่เศร้าเล็กน้อย อารมณ์ไม่แจ่มใส ไปจนถึงรุนแรงมากจนกระทั่งเป็นโรคหรือมีอาการจิตเวชร่วมด้วย ดังนั้นหากคนไข้ไปพบแพทย์ในขั้นที่เป็นรุนแรงมาก มีอาการหลอนทางจิต หรือขนาดคิดฆ่าตัวตาย การวินิจฉัยทำได้ไม่ยากนัก แต่กลุ่มคนที่มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่แสดงออก อาจมีเพียงจิตใจไม่แจ่มใส ความสามารถในการดำเนินชีวิตลดลง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน จะถูกปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นอันตรายในที่สุด อาการเตือนของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่
– สภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น เคยเป็นคนอารมณ์ดีก็เปลี่ยนเป็นหงุดหงิดง่าย มีเหตุผลน้อยลง ขี้บ่นมากขึ้น หรือสนใจในสิ่งที่เคยชอบลดลงจากเดิม
– รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเบื่อหน่ายในการมีชีวิตอยู่ ไม่อยากร่วมกิจกรรม พูดน้อยลง ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ยอมกินยา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
– มีปัญหาการนอนที่ผิดปกติ นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นกลางดึก
– มีอาการความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้นลง มีความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตัวเอง อาจมีประโยคนำเช่น “ไม่อยากอยู่ ตายๆไปได้ก็ดี”
– เหนื่อยไม่มีพลังงาน ทำอะไรช้า ปวดเมื่อย อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากโรคทางจิตเวช เช่น โรค Major depressive disorder , โรค Bipolar disorder ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองเป็นหลัก คนไข้กลุ่มนี้ควรปรึกษาหมอจิตเวช เพราะอาจมีอาการจิตเวชอื่นๆ แทรกซ้อน ส่วนภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชโดยตรงนั้น มักจะมีสาเหตุจากปัจจัยกระตุ้นทั้งทางกาย จิต และสังคม
สาระสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ gigacarethailand
Leave a Reply