วิธีดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายผลิต อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยหรือไม่ได้เลย ทำให้เมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ร่างกายไม่สามารถนำอาหารนั้นไปใช้ได้อย่างเหมาะสม จนทำให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด หากปล่อยไว้นานก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต หรือระบบประสาท โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หากที่บ้านของคุณมีผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลคนในครอบครัวเป็นเรื่องที่ควรระวังและคอยติดตามผลเป็นพิเศษ ควรใช้ เครื่องวัดน้ำตาล ตรวจเบาหวานเป็นประจำเพื่อให้ไม่พลาด ควบคุมอาหาร การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่สำคัญมาก คือ การเลือกอาหารที่ดีให้กับผู้ป่วย โดยขอแนะนำดังนี้ ดูแลเท้าของผู้ป่วย เท้าเป็นอวัยวะที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากเส้นเลือดส่วนปลายที่มาเลี้ยงขาและเท้าตีบ ก็อาจทำให้เกิดบาดแผลหายยาก และอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดเท้า ดูแลช่องปากให้สะอาดเสมอ ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก และเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุมระดับน้ำตาลไม่ดี มักจะทำให้ปากแห้ง เกิดฟันผุ แผลในช่องปาก อาการป่วยต่างๆ ตามมา ออกกำลังกายสู้เบาหวาน มีการวิจัยที่เชื่อถือได้ออกมาแล้วว่า การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ เพราะฉะนั้น การพาผู้ป่วยเบาหวานไปออกกำลังกายบ้าง จึงเป็นอีกวิธีที่อยากแนะนำ ขั้นตอนการออกกำลังกายสำหรับคนเป็นเบาหวาน ศึกษาข้อมูลเรื่องโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานและคนรอบข้างก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานเพื่อดูแลผู้ป่วย และควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยขอแนะนำดังนี้ ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

By.

min read

nurses-are-well-good-taken-care-elderly-patients-hospital-bed-patients-feel-happiness-medical-healthcare-concept

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายผลิต อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยหรือไม่ได้เลย ทำให้เมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ร่างกายไม่สามารถนำอาหารนั้นไปใช้ได้อย่างเหมาะสม จนทำให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด หากปล่อยไว้นานก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต หรือระบบประสาท

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หากที่บ้านของคุณมีผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลคนในครอบครัวเป็นเรื่องที่ควรระวังและคอยติดตามผลเป็นพิเศษ ควรใช้ เครื่องวัดน้ำตาล ตรวจเบาหวานเป็นประจำเพื่อให้ไม่พลาด

ควบคุมอาหาร

การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่สำคัญมาก คือ การเลือกอาหารที่ดีให้กับผู้ป่วย โดยขอแนะนำดังนี้

  1. เลือกอาหารที่มีพลังงานต่ำ มีใยอาหารสูง
  2. เลือกผลไม้ไม่หวานจัด เช่น กล้วย ฝรั่ง ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด ขนมปังโฮลวีท นมพร่องมันเนย โดยให้กินแทนขนมวันละ 2-3 ครั้ง
  3. ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม
  4. ใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันรำข้าวปรุงอาหาร
  5. ใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาล
  6. เลี่ยงอาหารใส่กะทิ อาหารทอด ขนมอบ
  7. ให้ผู้ป่วยกินอาหารรสอ่อน

ดูแลเท้าของผู้ป่วย

เท้าเป็นอวัยวะที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากเส้นเลือดส่วนปลายที่มาเลี้ยงขาและเท้าตีบ ก็อาจทำให้เกิดบาดแผลหายยาก และอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดเท้า

  1. อย่าให้ผู้ป่วยเบาหวานเดินเท้าเปล่าในบ้านหรือนอกบ้านเพื่อเลี่ยงอุบัติเหตุ
  2. ตัดเล็บเท้าตรงๆ แทนการตัดโค้งๆ และอย่าตัดลึกจนโดนเนื้อ
  3. เลือกรองเท้าที่พอดีให้ผู้ป่วย โดยเลือกที่ไม่คับเกินไป อาจเป็นรองเท้าหน้ากว้าง และหลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง
  4. ให้ผู้ป่วยสวมถุงเท้าหรือถุงน่อง ลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้า
  5. ตรวจเท้าผู้ป่วยทุกวันว่า มีบาดแผล หรือจุดบวมแดงไหม หากมีแล้วแผลไม่หายได้เอง ให้รีบไปพบแพทย์

ดูแลช่องปากให้สะอาดเสมอ

ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก และเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุมระดับน้ำตาลไม่ดี มักจะทำให้ปากแห้ง เกิดฟันผุ แผลในช่องปาก อาการป่วยต่างๆ ตามมา

  1. ให้ผู้ป่วยแปรงฟันวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง
  2. ใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี
  3. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละอย่างน้อย 6 แก้ว
  4. พาผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน

ออกกำลังกายสู้เบาหวาน

มีการวิจัยที่เชื่อถือได้ออกมาแล้วว่า การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ เพราะฉะนั้น การพาผู้ป่วยเบาหวานไปออกกำลังกายบ้าง จึงเป็นอีกวิธีที่อยากแนะนำ

ขั้นตอนการออกกำลังกายสำหรับคนเป็นเบาหวาน

  1. ปรึกษาคุณหมอ เพื่อจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายหลังกินอาหารมื้อหลักไปแล้ว1-2 ชั่วโมง
  3. ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปก่อนการออกกำลังกาย โดยผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ระดับน้ำตาลไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับน้ำตาลไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4. ใส่รองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย รวมทั้งตรวจดูเท้า ก่อนและหลัง การออกกำลังกายทุกครั้ง
  5. ออกกำลังกายสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ศึกษาข้อมูลเรื่องโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานและคนรอบข้างก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานเพื่อดูแลผู้ป่วย และควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยขอแนะนำดังนี้

  1. กินยาสม่ำเสมอตามคำสั่งแพทย์ แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดีหรือไม่ก็ตาม
  2. ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา
  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน และจดบันทึกไว้ เพื่อนำไปแสดงให้แพทย์ดูในนัดครั้งต่อไป
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ

ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

  1. หากเป็นเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ควรงดออกกำลังกายก่อน
  2. ไม่ควรออกกำลังกาย หากมีความดันโลหิตสูงเกิน 200/100 มม.ปรอท ขณะพัก
  3. ไม่ควรออกกำลังกาย หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและยังควบคุมไม่ได้
  4. ไม่ควรออกกำลังกาย หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก
  5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก



    ที่มา : https://www.fascino.co.th/

    สาระสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ gigacarethailand

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *